DigitalTransformation ถือเป็นประเด็นสำคัญของยุคสมัยนี้ไปแล้ว หลายองค์กรได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนองค์กร โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ก้าวทันคู่แข่ง และช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ
สิ่งสำคัญในการปรับตัวของธุรกิจในยุค Digital Transformation คือ คน (People), กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) โดยองค์กรจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนในการที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปในรูปแบบดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงความพร้อมขององค์กรด้วย มิฉะนั้นอาจจะเกิดปัญหากับองค์กรได้
Digital Transformation กับ PDPA เรื่องสำคัญที่องค์กรต้องพร้อมรับมือ
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูล่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act) มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ โดยกฎหมาย PDPA เริ่มใช้เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีผลบังคับใช้ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานไม่แสวงหากำไร คนธรรมดา นิติบุคคล ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“องค์กร” ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีมาตรการในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และวางระบบการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ให้ดำเนินการภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด
ยุคนี้ต้องพูดถึง PDPA! เราสามารถกล่าวได้ว่า Digital Transformation กับ PDPA เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่างๆ จำนวนมากได้เปลี่ยนผ่านจากรูปแบบเอกสารเข้ามาสู่ระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้า พนักงานบริษัท บริษัทคู่ค้า (vendor) บริษัทที่ได้รับการว่าจ้าง (outsource) ผู้เข้าร่วมสัมมนา และข้อมูลผู้สมัครงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จัดเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” และปัจจุบัน ถูกเก็บรวบรวมอยู่ในระบบฐานข้อมูลออนไลน์ขององค์กร
เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ย่อมต้องมีการปฏิบัติตาม PDPA ซึ่งการนำข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือประมวลผล จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน องค์กรจะต้องมีการจัดทำบันทึกรายการข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล การประเมินผลกระทบเพื่อรับมือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ระบบแจ้งเตือนเฝ้าระวัง มีมาตรการการจัดการหากเกิดข้อมูลรั่วไหล
คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า…การดำเนินการของธุรกิจคุณ ไม่ได้ละเมิด PDPA! ขั้นตอนสำคัญต่างๆ ในการทำ PDPA นี้สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดเหตุละเมิดได้ จากเดิมที่องค์กรใช้ระบบ Manual เปลี่ยนมาเป็นการนำระบบ (Software) หรือแพลตฟอร์มเข้ามาใช้ เพื่อช่วยบริหารจัดการ ให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

องค์กรใดที่ปรับตัวได้เร็ว ช่วยเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน!
ปัจจุบันมี PDPA Platform ซึ่งเป็นระบบที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ช่วยให้องค์กรมีความสะดวก บริหารจัดการกับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นระบบ การนำเทคโนโลยีเข้ามาควบคุมและบริหารจัดการนี้ ยังช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมของขั้นตอนการจัดการทั้งหมด พร้อมช่วยสร้างโอกาสทางการแข่งขัน และชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ ดังเช่นที่เราเคยได้ยินว่า “Data is King” กุญแจดอกสำคัญของธุรกิจคือ การรู้จักกับข้อมูลที่มี แล้วนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากการเสริมประสิทธิภาพให้กับองค์กรแล้ว ยังเสริมภาพลักษณ์ให้องค์กรมีความทัดเทียมในระดับสากล ในแง่ของการให้ความสำคัญกับสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล แสดงให้เห็นเห็นถึงมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพขององค์กร มีความน่าเชื่อถือทั้งในการติดต่อดำเนินธุรกิจ กับลูกค้าและคู่ค้า และในด้านกฎหมายหากเกิดกรณีพิพาทอีกด้วย
ดังนั้นการทำ Digital Transformation กับ การจัดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตาม PDPA จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องวางแผนและดำเนินการควบคู่กันไป ขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตาม อัพเดทระเบียบข้อบังคับ และข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เสมอ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ให้องค์กรของคุณพร้อมทั้งเรื่อง Digital Transformation และการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราพร้อมวางแผนระบบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ PDPA ครบถ้วนทุกขั้นตอนด้วย “wisework” เติมเต็มให้ครบทั้ง People – Process – Technology ดูแลให้ทุกขั้นตอน มั่นใจได้ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ก้าวไปด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น วางระบบ จนเสร็จกระบวนการ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการใช้งาน และพร้อมให้คำแนะนำโดยทีมผู้ให้คำปรึกษามามากกว่า 50+ โครงการ ปรึกษาเราที่นี่